การอบรมครูภาษาไทย

ขอให้โรงเรียนในโครงการพัฒนาภาษาไทย ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม โดยคลิก ที่นี่ และสามารถตรวจสอบรายชื่อโดยคลิก ที่นี่ หลังการอบรมให้ผู้เข้าอบรมกรอกแบบประเมินผลออนไลน์ดดยคลิก ที่นี่

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ภาษาไทย : การสื่อสารเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้

        เด็กปฐมวัยจนถึงระดับประถมศึกษาเป็นช่วงที่สมองซีกขวาเริ่มพัฒนาในด้านความคิดสร้างสรรค์  เป็นวัยที่เด็กใช้จินตนาการและการสร้างสรรค์เป็นหลักในการคิด  ถ้าเด็กถูกทำให้รู้สึกอับอายในสิ่งที่เขาทำ  เด็กจะสูญเสียลักษณะการเป็นผู้ยอมรับอย่างหมดใจในสิ่งที่เขาได้รับคืน  ผลกระทบตามมาเด็กจะเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจเจ็บปวดแต่ต้องเก็บกดไว้  เด็กจะเสียกำลังใจ  เกิดความลังเลสงสัย  ไม่สามารถเข้าใจตนเองและผู้อื่น  แต่ในทางตรงข้ามหากเมื่อเด็กกระทำไปแล้วได้รับการอธิบาย  ชี้แนะ  และแสดงเหตุผล จากผู้ใหญ่ที่มีความเข้าใจธรรมชาติเด็กและมีเมตตาธรรม  ความรู้สึกเชิงลบจะคลี่คลายกลายเป็นความเข้าใจ  เกิดความประทับใจและภูมิใจในตนเอง  เด็กที่มีความสำเร็จจากประสบการณ์ทางอารมณ์  จะมองสิ่งต่างๆรอบข้างที่เกิดขึ้นอย่างสงบ  ยอมรับและพร้อมที่จะแก้ไขเพื่อผลที่ดีที่สุดต่อไป

         เด็กคิดจากถ้อยคำของผู้ใหญ่ ถ้อยคำของครูมีอำนาจเหนือจิตใจเด็ก  เมื่อครูเรียกเด็กว่า "เด็กขี้เกียจ" เด็กจะเริ่มเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น  หลายคนคงเคยจดจำได้ถึงการตีตราด้วยคำพูดของครูในอดีตและยังคงหลอกหลอนมาจนถึงทุกวันนี้  ในทางตรงกันข้ามหากครูเรียกเด็กว่า "เด็กดี  เด็กฉลาด" จะเกื้อกูลเด็กให้ประพฤติตัวในแนวทางที่ครูต้องการ  การตีตราให้เด็กเป็นสิ่งอันตราย  แม้ว่าจะตีตราเงียบๆในใจครูก็ตาม

         เด็กพัฒนาการทางภาษาโดยการสื่อสารกับผู้ใหญ่(ครู) เมื่อผู้ใหญ่เปล่งเสียงแสดงความคิดเห็น  เด็กได้ยินมากกว่าคำศัพท์ต่างๆ  เด็กได้ยินสิ่งที่อยู่ภายในของผู้พูดด้วย  สำหรับเด็กถ้อยคำมีมนต์วิเศษเช่นเดียวกับมีอำนาจ ครูควรคำนึงเสมอว่าเด็กต้องการฟังถ้อยคำต่างๆในถ่วงทำนองเสนาะหู
         การฝึกให้เด็กมีนิสัยที่ดีในการฟัง  เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นโดยเฉพาะในระดับปฐมวัยและประถมต้น  การฝึกให้เด็กรู้จักฟังคือการไม่เข้าไปขัดขวางการฟัง  บรรยากาศของบ้านหรือโรงเรียนที่มีสิ่งดึงดูดความสนใจหลายอย่างและสับสน เป็นอุปสรรต่อประสบการณ์การฟัง  เด็กต้องการความเงียบภายในเพื่อให้เกิดทักษะการฟังที่ดี  สังคมสมัยใหม่เราเคยชินกับการมีเสียงต่างๆรบกวนอยู่เสมอ  จนความเงียบกลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจทานทนได้


         ครูภาษาไทยควรใช้คำพูดเพื่อพัฒนาการการเรียนรู้แก่เด็ก คำพูดของครูมีผลต่อพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก เทคนิค 5 ส. เพื่อพัฒนาเด็ก  มีดังนี้


     1.  สร้างสถานการณ์ในการเรียนรู้  เช่น
         -  การพูดเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน
         -  การพูดเพื่อแนะนำบทเรียน
         -  การพูดเพื่อกำกับหัวข้อในการเรียนรู้

     2.  สนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม  เช่น
         -  การพูดเพื่อกำหนดทิศทางให้เด้กมีส่วนร่วม
         -  การพูดเพื่อกระตุ้นให้คิด - ทำ - ปฏิบัติ

     3.  เสริมต่อแนวทางการแก้ปัญหา
         -  การถามให้วิเคราะห์สิ่งที่เรียนรู้
         -  การถามชี้แนะ
         -  การถามเพื่อให้เด็กคิดสะท้อน - ย้อนกลับ

      4.  เสริมสร้างการสื่อสาร  เช่น
         
            -  การพูดซ้ำ
            -  การพูดเรื่องเดิมด้วยการเรียบเรียงคำพูดใหม่
             -  การถามเพื่อให้พูดซ้ำเนื่องจากไม่เข้าใจคำพูดของเด็ก
             -  การถามย้ำเพื่อให้เกิดความเข้าใจ

       5.  สืบเสาะข้อมูลเพื่อการวางแผน  เช่น
             -  ให้เด็กแสดงความสามารถเพื่อการประเมิน
             -  ให้เด็กแสดงความคิดเพื่อปรับแผนการจัดการเรียนรู้
                                                                   -  ให้เด็กอธิบายเหตุผลการกระทำ




ครูภาษาไทยครูมืออาชีพ
เป็นผู้ใช้ภาษาที่มีพลัง
เพื่อการพัฒนาเด็กไทย
ให้มีความสามารถในการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์