การอบรมครูภาษาไทย

ขอให้โรงเรียนในโครงการพัฒนาภาษาไทย ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม โดยคลิก ที่นี่ และสามารถตรวจสอบรายชื่อโดยคลิก ที่นี่ หลังการอบรมให้ผู้เข้าอบรมกรอกแบบประเมินผลออนไลน์ดดยคลิก ที่นี่

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เรียนรู้อะไรในภาษาไทย

                 ภาษาเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระการงานและการดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข  และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้  ประสบการณ์  จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ  เพื่อพัฒนาความรู้  กระบวนการคิดวิเคราะห์  วิจารณ์และสร้างสรรค์ตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี  ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ  ภาษายังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม  ประเพณี  สุนทรียภาพ        ทั้งเป็นสมบัติลำ้ค่าควรแก่การเรียนรู้    อนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทย  (กระทรวงศึกษาธิการ,  2551:1)

          การสอนภาษาไทยไม่ได้มุงหวังเพียงเพื่อการอ่านออกเขียนได้เท่านั้น ยังต้องการให้ผู้เรียนสามารถ ใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่วในทุกทักษะตามวัย ตามความสามารถของผู้เรียน  และต้องสอนให้ผู้เรียนเกิดนิสัยรักการอ่าน มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาและวรรณคดี  ทั้งในแง่ที่เป็นวัฒนธรรมประจำชาติและในแง่ที่ส่งเสริมความงามในชีวิต          
การพัฒนาทักษะทางภาษา หมายถึง การจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยกลวิธีต่างๆ  เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาในการสื่อสาร และเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้อย่างคล่องแคล่วเหมาะสมกับวัย  ระดับชั้นและเต็มตามศักยภาพ
               
                เยาวชนไทยเรียนรู้อะไรในภาษาไทย
                กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน   พุทธศักราช  2551กล่าวถึง เีรียนรู้อะไรในภาษาไทย เพื่อให้ครูภาษาไทยถอดรหัสนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้หรือวิธีการเรียนรู้แก่ลูกศิษย์ต่อไป โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้  (กระทรวงศึกษาธิการ,2551 : 1-2)

                1. การอ่าน การอ่านออกเสียง  ประโยค การอ่านบทร้อยแก้ว  คำประพันธ์ต่างๆ  การอ่านในใจเพื่อสร้างความเข้าใจ และการคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์ความรู้จากสิ่งที่อ่าน เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิต
ประจำวัน (โดยใช้กระบวนการอ่าน  และสร้างนิสัยรักการอ่านแก่ผู้เรียน)
                 2. การเขียน  การเขียนสะกดคำตามอักขรวิธี  การเขียนสื่อสารรูปแบบต่างๆ เช่น การเขียนเรียงความ  ย่อความ  เขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้า เขียนตามจินตนาการ  เขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ เขียนเชิงสร้างสรรค์(โดยใช้กระบวนการเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ)
                 3. การฟัง  การดู และการพูด  การฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ  การพูดแสดงความคิดเห็น  ความรู้สึก  พูดลำดับเรื่องราวต่างๆอย่างเป็นเหตูเป็นผล  การพูดในโอกาสต่างๆทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการและพูดเพื่อโน้มน้าวใจ 
                 4. หลักการใช้ภาษา  ศึกษาธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของภาษาไทย  การใช้ภาษาให้ถูกต้องเหมาะสมกับโอกาสและบุคคล  การแต่งบทประพันธ์ประเภทต่างๆและอิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ( โดยมีความภูมิใจในภูมิปัญญาทางภาษา  และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ)
                 5. วรรณคดีและวรรณกรรม  วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อศึกษาข้อมูล  แนวคิด  คุณค่าของงานประพันธ์  และเพื่อความเพลิดเพลิน  การเรียนรู้และทำความเข้าใจบทเห่ บทร้องเล่นของเด็ก  เพลงพื้นบ้านที่เป็นภูมิปัญญาที่มีคุณค่าของไทย  ซึ่งได้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด  ค่านิยม  ขนบธรรมเนียมประเพณี  เรื่องราวของสังคมในอดีต  และความงามทางภาษา  เพื่อให้เกิดความซาบซึ้งและภูมิใจในบรรพบุนุษที่ได้สั่งสมสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน(โดยนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง)
                 
                  เนื่องจากทักษะภาษาเป็นสิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้และสามารถฝึกฝนให้เกิดทักษะหรือความชำนาญคล่องแคล่วได้  เพียงแต่ครูผู้สอนพยายามแสวงหากลวิธี/วิธีฝึกทักษะทางภาษาให้เหมาะสมกับผู้เรียน  โดยมีข้อควรคำนึงดังนี้


         *  ฝึกการใช้ภาษาโดยการฝึกปฏิบัติจริง
                
        *  ใช้เวลาในการฝึกที่พอเหมาะและต่อเนื่อง
                 
        *  ฝึกโดยใช้กิจกรรมที่หลากหลายที่สัมพันธ์กับพื้นฐานประสบการณ์ของผู้เรียนโดยลำดับจากง่ายไปหายาก
                 
        *  สาระการเรียนรู้/เนื้อหาที่ใช้ในการฝึก  เป็นการถ่ายโยงการเรียนรู้ภาษา
                 
        *  การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนด้วยวิธีการที่เหมาะสมโดยให้เด็กรู้จุดบกพร่องของตนกระตุ้นให้สนใจแก้ไข  และภูมิใจที่สามารถพัฒนาตนเองได้

เรารักกันนะ.......สามัคคีคือพลัง...จ้า

                                                                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น