การอบรมครูภาษาไทย

ขอให้โรงเรียนในโครงการพัฒนาภาษาไทย ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม โดยคลิก ที่นี่ และสามารถตรวจสอบรายชื่อโดยคลิก ที่นี่ หลังการอบรมให้ผู้เข้าอบรมกรอกแบบประเมินผลออนไลน์ดดยคลิก ที่นี่

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การเขียนตามรูปแบบ

                มาตรฐานการเรียนรู้ของสาระการเขียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กล่าวถึงคำสำคัญหลายคำที่ครูผู้สอนทุกระดับชั้นต้องตระหนักในการจัดการเรียนรู้แก่นักเรียน ได้แก่  กระบวนการเขียน  การเขียนตามรูปแบบ  การใช้แผนภาพในการพัฒนาการเขียน  

วันนี้ขอชวนอ่านและทำความเข้าใจในเบื้องต้นเกี่ยวกับ การเขียนตามรูปแบบ   เพื่อให้เกิดการศึกษาค้นคว้า  และคิดแนวทางการจัดกิจกรรม  สำหรับเพื่อนครู  เพื่อนศึกษานิเทศก์ และผู้ที่สนใจ
         
             
รูปแบบการเขียน ( Forms of Writing ) หมายถึง ประเภทของงานเขียนที่แบ่งออกตามจุดประสงค์ของการเขียน ในภาษาอังกฤษอาจใช้คำว่า form , type, mode หรือdomain  ( Stecle 2007: Online, Answer Corporation 2010: Online )
         
    Houghton  Mifflin Harcourt ( 2006 : Online ) แบ่งรูปแบบการเขียน ( Form ) เป็น 5 รูปแบบ ดังนี้
         
     1. การเขียนเล่าเรื่อง ( Narrative ) เป็นข้อเขียนที่เล่าเรื่องราวที่เป็นเรื่องจริงหรือแต่งขึ้นประกอบด้วย
                  1.1  เรื่องชีวประวัติ ( ฺBiographical  narrative )
                  1.2  เรื่องบันเทิงคดี ( Fictional  narrative )
                  1.3  เรื่องส่วนบุคคล ( Personal  narrative )
     
     2.  การเขียนอธิบาย ( Expository ) เป็นข้อเขียนที่อธิบายหรือบอกสารสนเทศ  ประกอบด้วย
                  2.1  ความเรียงเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง(Compare-contrast essay )
                  2.2  ความเรียงวิธีการ ( How- to  essay )
                  2.3  ความเรียงที่เป็นสารสนเทศ ( Information  essay )
           
    3.  การเขียนโน้มน้าว ( Persuasive ) เป็นข้อเขียนที่เสนอความคิดเห็นของผู้เขียน และพยายามโน้มน้าวให้ผู้อ่านเห็นด้วย  ประกอบด้วย
                  3.1  ความเรียงที่เป็นข้อคิดเห็น ( Opinion  essay  )
                  3.2  ความเรียงที่กล่าวถึงปัญหาและการแก้ไข ( Problem- solution )
                  3.3  ความเรียงที่กล่าวถึงการสนับสนุนและการคัดค้าน ( Pro-con essay )
           
     4.  การเขียนบรรยาย ( Descriptive) เป็นข้อเขียนที่มีจุดประสงค์ที่จะบรรยายถึง บุคคล  สถานที่  หรือเหตุการณ์  จนผู้อ่านมีภาพของสิ่งที่บรรยายนั้นอยู่ในใจ
           
     5.  การวิเคราะห์วิจารณ์งานเขียน ( Response  to  literature ) เป็นข้อเขียนที่กล่าวถึงการสำรวจ  ตรวจสอบ  เกี่ยวกับแก่นของเรื่อง ( theme ) โครงเรื่อง ( plot ) ตัวละคร และด้านอื่นๆของบทในหนังสือ หนังสือทั้งเล่ม  หรือเรื่องที่อ่าน  ประกอบด้วย
              5.1  การบรรยายสั้นๆเกี่ยวกับตัวละคร ( Character  sketch )
              5.2  การสรุปโครงเรื่อง ( Plot  summary )
              5.3  การวิเคราะห์แก่นของเรื่อง ( Theme  analysis )
               
             ในส่วนที่เสนอนี้เป็นเพียงความคิดเห็นของนักวิชาการท่านหนึ่ง เป็นการสรุปประเด็นสำคัญสั้นๆ หากต้องการรายละเอียดต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกนะคะ    การอธิบายรายละเอียดของรูปแบบการเขียน นักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันอยู่บ้างในการกล่าวถึงรูปแบบการเขียนที่เป็นรูปแบบหลักและรูปแบบย่อย ซึ่งจะนำเสนอในโอกาสต่อไป




                 
ขอเชิญชวนเพื่อนครู  เพื่อนศึกษานิเทศก์  ผู้ที่สนใจในการจัดการเรียนสอนภาษาไทยร่วมแบ่งปันความคิดในการพัฒนาความสามารถในการเขียนแก่เด็กไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น