การอบรมครูภาษาไทย

ขอให้โรงเรียนในโครงการพัฒนาภาษาไทย ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม โดยคลิก ที่นี่ และสามารถตรวจสอบรายชื่อโดยคลิก ที่นี่ หลังการอบรมให้ผู้เข้าอบรมกรอกแบบประเมินผลออนไลน์ดดยคลิก ที่นี่

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หัวใจนักปราชญ์ : การอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียน

          ความสามารถในการอ่าน  การคิด  และการเขียน  เป็นจุดเน้นที่สำคัญของพระราชบัญญัติ  การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่๒) พ.ศ.๒๕๔๕ และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑

          ความสามารถในการอ่าน  การคิด และการเขียน  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของความเป็นนักปราชญ์   โดยเฉพาะการเขียนซึ่งเป็นการแสดงผลของการอ่าน  การใช้ความคิด  การตั้งคำถาม  ผลงานการเขียนจึงเป็นการสะท้อนความเป็นนักปราชญ์   ด้วยเหตุนี้เองจึงมีการนำมาเป็นเกณฑ์ๆหนึ่งในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน

        พระยาอุปกิตศิลปสาร(๒๕๔๖) ได้แสดงถึงความสำคัญของการอ่าน  การคิด  และการเขียน ไว้ในหัวใจนักปราชญ์ ดังนี้
        หัวใจนักปราชญ์ "สุ. จิ. ปุ. ลิ." ที่ข้าพเจ้าจะนำมาอธิบายให้ท่านฟัง  บัดนี้ท่านคงทราบกันมาแล้วว่า สุ. คือ การฟัง  จิ. ได้แก่ จินตะ คือการคิด  ปุ. ได้แก่ ปุจฉา คือ การถาม  และ ลิ. ได้แก่ ลิขิต  คือ การเขียน...
 
        ๑. สุ.  คือ สุต  การฟัง  ได้แก่ การแสวงหาความรู้ เพราะการเล่าเรียนในสมัยโบราณต้องอาศัยการฟังเป็นพื้น  เพราะการใช้หนังสือยังไม่แพร่หลาย จึงจัดเอาการฟังเป็นหัวข้อสำคัญ  คนที่จะเป็นนักปราชญ์ได้ต้องฟังมามาก  ซึ่งเรียกว่า "พหูสูตร" คือ ผู้ฟังมาก แต่สมัยนี้วิชาหนังสือแพร่หลายทั่วไป จึงควรนับ การอ่านเข้าไปในข้อพหูสูตรนี้ด้วย คือ  รวมความว่าผู้มี่เป็นนักปราชญ์จะต้องฟังมากและอ่านมากด้วย

         ๒.  จิ. คือ จินตนะ แปลว่า ความคิด  เป็นศัพท์พวกเดียวกับ "จิต" ว่าเครื่องคิด คือ   ใจเรานี้เอง  คำว่า จิ. คือความคิด  ในที่นี้ท่านหมายความว่า "ให้ใช้ความคิด"  ซึ่งเป็นขั้นที่ ๒ รองจากการฟังหรือ    การอ่าน กล่าวคือ เมื่อเราฟังหรืออ่านเรื่องราวใดๆ  เราต้องคิดตามไปด้วย ไม่ใช่ปล่อยจิตไปตามยถากรรมอย่างฟังเสียงนกเสียงกา  ถ้าพบข้อความแม้จนคำพูดที่ไม่เข้าใจหรือสงสัย  ก็ผูกจิตไว้ตรึกตรองภายหลัง  เพราะถ้าจะเอามาตรึกตรองเวลานั้น  ก็จะไม่ได้ฟังเรื่องต่อไปหรือจะจดย่อๆก็ได้... เพราะฉะนั้นเราจึงควรใช้ความคิดในการอ่านให้เหมาะสมแก่ฐานะที่เราเป็นผู้ใคร่ในการศึกษาจึงจะเหมาะ  กล่าวคือ ต้องใช้ จิ. ไปด้วยให้ได้รับความรู้สมค่าที่ลงทุนอ่าน...

          ๓.  ปุ. คือ ปุจฉา การถาม เป็นข้อสำคัญไม่แพ้ข้อต้นๆ ผู้ที่จะเป็นนักปราชญ์ต้องพยายามแสวงหาความรู้ในการถาม  กล่าวคือเมื่อเราฟังหรืออ่าน  ถ้าพบข้อความหรือถ้อยคำที่สงสัยหรือไม่เข้าใจ ก็ผูกจิตไว้ตรึกตรองและค้นคว้าหาความเข้าใจ   โดยการสอบถามผู้ที่เรามั่นใจว่าเขารู้ดี  ไม่กระดากอายในการไต่ถามสิ่งที่เราไม่รู้  เพราะการทนงตัวว่าเรารู้มาก ดูถูกผู้อื่นว่าไม่รู้และการถือเกียรติว่าไม่ควรถามผู้ที่ตำ่ต้อย กว่าตน  ทั้ง ๓ ประการนี้เป็นมารที่จะรั้งเราให้ลงจากฐานะเป็นนักปราชญ์  แต่ต้องรักษาจริยวัตรในการถามให้มากๆ คือ แสดงให้เขาทราบว่า ถามเพื่อต้องการความรู้จริง  ด้วยความเคารพจริงๆไม่ใช่การถามเพื่อสอบไล่เขาหรือถามเพื่อขัดคอเขาหรือเพื่อข่มเขาให้อาย

          ๔.  ลิ. คือ ลิขิต แปลว่า เขียนไว้  กล่าวคือ  ท่านได้บันทึกข้อที่ควรรู้ควรจำ  ลิ. นี้สำคัญกว่าอื่น  เพราะเป็นการแสดงผลของการฟัง  การอ่าน  การใช้ความคิด  การถาม  ในสมัยโบราณการบันทึกข้อความนับว่าสำคัญมาก  เพราะมีผู้รู้หนังสือน้อย  ท่านจึงตั้งไว้เป็นหัวใจข้อสุดท้ายของนักปราชญ์ เพนาะสำคัญที่สุดและสำคัญจริงๆ

          โดยสรุป 
                       การอ่าน  การคิดวิเคราะห์  และเขียน  หมายถึงความสามารถในความเป็นนักปราชญ์  (ผู้รู้ผู้มีปัญญา)  แสดงผลงานการเขียนเพื่อการสะท้อนความเป็นผู้รู้  ผู้มีปัญญา  ผลงานการเขียน(ลิขิต) เป็นผลงานที่เกิดจากการอ่าน  การฟัง  และการถาม(ปุจฉา)จากผู้รู้/จากการอ่านเอกสารของผู้รู้ที่เขียนไว้  ดังนั้น ความสามารถในการอ่าน  คิดวิเคราะห์และเขียน  จึงสมารถแสดงออกได้ด้วยผลงาน   การเขียน  ซึ่งเป็นการเขียนที่เกิดจากการใช้ความคิดที่เป็นผลจากการอ่าน  การฟัง  และ      การถาม ที่ผ่านการฝึกฝนมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง  จึงนับว่าความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์  และเขียน เป็นความสามารถของผู้มีปัญญาหรือความสามารถในการเป็นนักปราชญ์นั่นเอง

"ลูกไก่อย่างพวกเราจะมีหัวใจนักปราชญ์ได้ไหมคะ"

1 ความคิดเห็น:

  1. การทำดีเพื่อความดีมีแต่ผลดี แต่อย่าทำดีเพราะอยากให้ใครชมว่าดี
    หรือเพราะทำดีเพื่อให้ดูดึแต่ใจไม่ได้ใฝ่ดีก็ไม่มีประโยชน์ที่จะทำ
    ส่วนการทำดีเพื่อให้คนอื่นได้ดี ทำดีเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสีงที่ควรกระทำ
    สังคมจะดีได้เพราะคนในสังคมร่วมแรงร่วมใจกันใฝ่ดี

    ตอบลบ