การอบรมครูภาษาไทย

ขอให้โรงเรียนในโครงการพัฒนาภาษาไทย ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม โดยคลิก ที่นี่ และสามารถตรวจสอบรายชื่อโดยคลิก ที่นี่ หลังการอบรมให้ผู้เข้าอบรมกรอกแบบประเมินผลออนไลน์ดดยคลิก ที่นี่

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การพัฒนาความสามารถในการเขียน ตอนที่ 3

        
              การเขียน  เป็นงานศิลปะในการสร้างคำและข้อความบนกระดาษ ไม้ หิน หรือวัสดุอื่นๆ  โดยมีจุดประสงค์ที่จะบันทึกความคิดที่แสดงความหมายออกมาจากคำ หรือข้อความนั้น หรือมุงสื่อสารไปยังผู้อื่นด้วยสัญลักษณ์ที่มองเห็นได้ ( Brainy Quote,2010 :Online )

             Wikipedia ( 2010 : Online ) อธิบายไว้ว่า การเขียนคือ ตัวแทนทางภาษาบนพื้นผิวของตัวกลาง โดยอาศัยชุดของสัญลักษณ์ซึ่งแตกต่างจากภาพวาดหรือการเขียนสีตามผนังถ้ำโบราณที่ไม่ใช้ภาษาและแตกต่างจากการบันทึกทางภาษาที่ไม่ใช่สัญลักษณ์

             โดยที่การเขียนเป็นการสื่อสารระหว่างมนุษย์ให้เข้าใจถึงความรู้  ความคิด และความรู้สึกระหว่างกัน  การเขียนจึงเป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างสูง  Walker ( 2011 : Online ) มีความเห็นว่า  การเรียนรู้ที่จะเขียนเป็นขั้นสำคัญของพัฒนาการเด็ก  เป็นสิ่งที่จะปูทางไปสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้ในอนาคต  เพราะขณะที่เด็กเรียนรู้โลกรอบๆตัว และเริ่มเรียนรู้ที่จะแสดงออกตัวตนของเขาต่อสังคมด้วยการเขียน  ปัจจัยเหล่านี้จะช่วยทำให้การเขียนก่อรูปเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการทางการศึกษา ซึ่งจะกระตุ้นเด็กไปตลอดด้วยการเป็นสิ่งเร้าทางสติปัญญาและความต้องการความรู้  ในอีกด้านหนึ่ง  การเขียนเป็นขั้นแรกที่สำคัญในการส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ซึ่งสำคัญยิ่งในการศึกษา  เป็นต้นกำเนิดของนวัตกรรมและการคิดที่รวดเร็ว  การเขียนช่วยทำให้ช่องทางความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาได้อย่างดียิ่ง

           คำแนะนำเกี่ยวกับการสอนเขียน

        Office of Educational Research and Improvement (2000 : Online) ให้คำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับการสอนเขียนแก่นักเรียนให้สามารถเขียนได้อย่างดีไว้ดังนี้

        1.  การคิดที่ชัดเจน  การเขียนเริ่มต้นด้วยการคิด  เพราะการคิดเป็นขั้นตอนสำคัญของการสื่อสาร  ในการเขียนแต่ละครั้งผู้เขียนไม่ควรมีข้อสงสัยในเรื่องที่จะเขียน  ผู้เขียนควรมีความแจ่มชัดเกี่ยวกับเรื่อง /เหตุการณ์ที่ผ่านมา  เพื่อที่จะเขียนเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นๆได้


               2.การมีเวลาที่เพียงพอ  เด็กจะต้องสะสมข้อมูลต่างๆไว้ในสมอง  และเด็กต้องการเวลาในการคิด  ดังนั้ยการเขียนเฉพาะในคาบเรียนในโรงเรียนจึงไม่เพียงพอ

               3.การได้อ่านหนังสือที่ดีๆ  ถ้าเด็กได้อ่านหนังสือที่ดี  เด็กจะเป็นนักเขียนที่ดีด้วย

               4.การได้รับมอบหมายภารกิจที่มีความหมาย  เด็กต้องการเขียนงานที่มีความหมาย  ไม่ใช่ทำไปเพียงเพื่อส่งงาน โดยไม่มีความหมายอย่างแท้จริง

                5. การเขียนตามความสนใจ  เด็กต้องการเขียนเพื่อส่งข่าวสาร  บันทึก  แสดงออกถึงความรู้สึกหรือการถ่ายทอดสารสนเทศ

               6. การฝึกหัด  ควรให้โอกาสเด็กในการฝึกการเขียนในหลายๆสถานการณ์

               7. การปรับปรุงงานเขียน  เด็กต้องการประสบการณ์ในการปรับปรุงงานเขียนของเขา  เช่น  ต้องการคำแนะนำว่ามีอะไรบ้างที่จะทำให้ข้อเขียนชัดเจน  หรืเขียนบรรยายได้ดีหรือรัดกุมมากขึ้น


เด็กจะก้าวหน้าและมีความสามารถในการเขียน.....
     ขอเพียงครูจัดเวลาและให้โอกาสเด็กในการเขียนอย่างมีความสุข
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น