การอบรมครูภาษาไทย

ขอให้โรงเรียนในโครงการพัฒนาภาษาไทย ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม โดยคลิก ที่นี่ และสามารถตรวจสอบรายชื่อโดยคลิก ที่นี่ หลังการอบรมให้ผู้เข้าอบรมกรอกแบบประเมินผลออนไลน์ดดยคลิก ที่นี่

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พัฒนาการด้านการเขียนของเด็กปฐมวัย

          Morrow(1998:241) กล่าวถึงลักษณะการเขียนและพัฒนาการเขียนของเด็กปฐมวัยดังนี้
              
      1. การเขียนโดยผ่านการวาดรูป ( Writing via drawing ) เด็กใช้การวาดรูปเป็นพื้นฐานของการเขียน ในขั้นนี้ทั้งการวาดรูปและการเขียนจะไม่สัมพันธ์กัน  เด็กจะมองว่าการวาดรูปและการเขียนเป็นการติดต่อสื่อสารโดยเฉพาะ


       2. การเขียนโดยผ่านการขีดๆเขียนๆ ( Writing via scribbing ) เด็กจะขีดๆเขียนๆจากซ้ายไปขวา  และเคลื่อนดินสอเหมือนผู้ใหญ่ทำ  และในขณะเขียนจะทำให้เกิดเสียง  การเขียนในขั้นนี้จะเริ่มคล้ายการเขียนจริง


       3. การเขียนโดยผ่านการทำตัวอักษรเหมือนแบบ ( Writing via letter-like form ) การเขียนในขั้นนี้หากมองผ่านๆจะเหมือนตัวอักษรจริง  แต่ดูใกล้ๆจะเห็นว่าเด็กเขียนไม่สมบูรณ์เหมือนตัวอักษรจริง เป็นการเขียนที่เด็กคิดออกแบบการเขียนของตนเองขึ้น
        4. การเขียนโดยผ่านการคัดลอกจากหนังสือ ( Writing via reproducing will learned units or letter strings ) เด็กจะเขียนคัดลอกตัวอักษรเป็นชื่อตัวเอง  ในขั้นนี้การเขียนของเด็กแต่ละคนจะแตกต่่างกัน เด็กบางคนอาจเขียนตัวอักษรยาวๆ หรือคิดออกแบบการเขียนของตัวเองขึ้น


         5. การเขียนโดยผ่านการคิดแบบตนเอง ( Writing via invented spelling ) เด็กส่วนใหญ่จะคิดแบบการเขียนของตนเองขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแสดงความรู้สึกออกมา  โดยเด็กไม่รู้ว่าการเขียนคำๆหนึ่งสะกดจริงๆทำอย่างไร  ตัวอักษรเพียงตัวเดียวอาจเป็นตัวแทนพยางค์ของคำๆนั้นทั้งหมด หรือมีการเขียนคำเกินมาซึ่งไม่เกี่ยวข้องกัน   ในขั้นนี้เด็กบางคนจะทำท่าทางเขียนอย่่างรอบคอบเหมือนการเขียนจริง


        6. การเขียนโดยผ่านการสะกดตามแบบ ( Writing via conventional spelling ) ในขั้นนี้เด็กจะเขียนเหมือนผู้ใหญ่


        การเขียนของเด็กปฐมวัยเป็นวิธีการหนึ่งที่เด็กแสดงออก เป็นพัฒนาการทางภาษาที่มีความสำคัญเช่นเดียวกับทักษะการฟัง การดู การพูด การเขียนจึงเป็นเครื่องมือที่จะพัฒนาความมีเหตุมีผลของเด็ก ครูควรแนะนำให้เด็กเขียนโดยใช้ความคิด ประสบการณ์ ความพอใจ และตามความสามารถทางภาษาของเด็กเอง  ความสามารถในการเขียนจะเป็นไปตามพัฒนาการของแต่ละวัย ในเด็กวัย 5-6ปี เด็กจะสามารถวาดรูปคนโดยมีส่วนสำคัญ 6 ส่วนได้  และวาดรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่มีมุมแหลมอยู่ในแนวตั้งได้  แสดงว่าเด็กพร้อมที่จะเขียนหนังสือได้  ทั้งนี้ครูจะต้องสังเกตว่าเด็กสามารถใช้มือหรือกล้ามเนื้อมือและตาทำงานสัมพันธ์กัน เด็กสามารถมองเห็นความเหมือน - ความแตกต่างของสิ่งต่างๆ และเด็กพร้อมที่จะเขียนหนังสืออย่างมีความสุข ไม่ถูกบังคับขู่เข็ญ จะส่งผลให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนหนังสือต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น