การอบรมครูภาษาไทย

ขอให้โรงเรียนในโครงการพัฒนาภาษาไทย ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม โดยคลิก ที่นี่ และสามารถตรวจสอบรายชื่อโดยคลิก ที่นี่ หลังการอบรมให้ผู้เข้าอบรมกรอกแบบประเมินผลออนไลน์ดดยคลิก ที่นี่

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เป็น Best Practices

         การจัดกิจกรรมหรือโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน  มีเป้าหมายสำคัญที่มุ่งให้โรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับปฐมวัย  ประถมศึกษา  และมัธยมศึกษา  สร้างความตระหนัก  แรงจูงใจและกระตุ้นให้ครู  บรรณารักษ์  ผู้ที่เกี่นวข้องทุกระดับเห็นความสำคัญของการอ่าน  และมีส่วนร่วมในการสร้างนิสัยรักการอ่าน  เพื่อยกระดับความสามารถในการอ่านกับนักเรียน

           หลักสำคัญของการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน  ในเบื้องต้นต้องมีความเชื่อมั่นว่า

        1.การอ่าน  เป็นเครื่องมือพื้นฐานสำคัญเพื่อใช้ในการศึกษาหาความรู้  การติดต่อสื่อสารและใช้ในการดำรงชีวิต
        2.การอ่าน  ถือเป็นทักษะพื้นฐานที่โรงเรียนต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก  โดยครูจะต้องเลือกสรรเทคนิคหรือวิธีการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับกระบวนการอ่าน  เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน
       3.การอ่าน  เป็นงานของครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่จะต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาให้นักเรียนสามารถอ่านออกเขียนได้  โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นๆ
       4.การอ่านและการเขียน เป็นเรื่องที่ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ต้องบูรณาการในการจัดการเรียนรู้
       5.การอ่าน   เป็นการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมของโรงเรียน ผู้ปกครองและชุมชน เพื่อใช้การอ่านเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้

 
          จากการนิเทศติดตามและร่วมพัฒนาโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนในสังกัด  สพท.กทม. 2 มีผลสำเร็จของงานที่เป็นการปฏิบัติงานที่ประสบผลสำเร็จ เป็น Best Practice หลายลักษณะดังนี้

         1.  เป็นผลงานที่เกิดจากการพัฒนาห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้

         2.  เป็นผลงานที่เป็นกิจกรรมเด่นที่ดำเนินการแล้ว นักเรียน ครู / บุคคลากรที่เกี่ยวข้องในโรงเรียนเกิดการพัฒนานิสัยรักการอ่านและส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน

                  3. เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการแล้วทำให้บรรยากาศในโรงเรียนส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาความสามารถในการอ่านแก่นักเรียนเพิ่มขึ้น

                  4.  เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ  สามารถนำไปเป็นตัวอย่าง  หรือแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนอื่นได้

                  5.  เป็นตัวอย่างการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์  ที่มียุทธวิธีและกระบวนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

                  6.  เป็นตัวอย่างการพัฒนาการจัดกิจกรรมให้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ หรือการพัฒนาเป็นโรงเรียนต้นแบบลห้องสมุดมีชีวิต

                  7.  เป็นตัวอย่างการบูรณาการการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ  เพื่อส่งเสริมให้ครูและนักเรียนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน  ส่งผลให้เกิดนิสัยรักการอ่าน  และพัฒนาศักยภาพความสามารถในการอ่านแก่นักเรียน

                  8.  เป็นการสรุปรายงานหรือการเล่าถึงการทำงานของผู้บริหาร  ครูหรือกลุ่มครู   นักเรียน  โรงเรียนกับชุมชน  ที่ได้เรียนรู้วิธีการคิดหรือวิธีการทำงานใหม่  ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการดำเนินงานในโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน  การพัฒนาห้องสมุด  แหล่งเรียนรู้หรือกิจกรรมที่โรงเรียนสร้างสรรค์ใหม่ๆ  ที่มีผลการดำเนินงานพัฒนาผู้เรียนให้มีนิสัยรักการอ่าน  พัฒนาความสามารถด้านการอ่าน  มีผลสำเร็จเกิดความภาคภูมิใจ

                 9.  เป็นการสรุป / รายงาน / การเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกัลผู้บริหาร  ครู  นักเรียน  หรือผุ้ปกครอง/ชุมชน  อันเป็นผลมาจากการดำเนิงงานโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน  การพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต  การพัฒนาแหล่งเรียนรู้  หรือโครงการที่โรงเีรียนสร้างสรรค์ ใหม่


WE  CAN


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น