การอบรมครูภาษาไทย

ขอให้โรงเรียนในโครงการพัฒนาภาษาไทย ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม โดยคลิก ที่นี่ และสามารถตรวจสอบรายชื่อโดยคลิก ที่นี่ หลังการอบรมให้ผู้เข้าอบรมกรอกแบบประเมินผลออนไลน์ดดยคลิก ที่นี่

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แนวทางการจัดการเรียนการสอนเขียน : ตอนที่ 1

ธรรมชาติของกระบวนการเขียน(The nature of writing process)การเขียนเป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อน ที่เปิดโอกาสให้ผู้เขียนสำรวจความคิด แล้วทำความคิดนั้นให้มองเห็นได้และเป็นรูปธรรม การเขียนกระตุ้นการคิดและการเรียนรู้ และนำความคิดมาทบทวนเพื่อเขียนความคิดเป็นลายลักษณ์อักษร ตรวจสอบความคิด พิจารณาความคิดใหม่หรือเพิ่มเติม จัดใหม่และเปลี่ยนแปลงได้  การเขียนจะกระตุ้นการคิดและการเรียนรู้ต่อเมื่อนักเรียนมองการคิดว่าเป็นกระบวนการ(Ghazi.2002:Online)
      ในอดีตมีแนวทางการจัดการเรียนการสอนเขียนหลายวิธี เช่นการฝึกโดยให้เด็กเรียนรู้จากประโยคและย่อหน้าที่ถูกต้องตามหลักไวยกรณ์ แล้วเปลี่ยนแปลงเป็นการฝึกให้เด็กก้าวไปสู่การเขียนที่ถูกต้องก่อนที่จะให้เขียนอย่างอิสระ ในปัจจุบันการสอนเขียนได้เปลี่ยนจุดเน้นจากผลผลิตของการเขียนมาเป็นกระบวนการเขียนผู้เขียนจะต้องถามตัวเองในลักษณะของคำถามต่อไปนี้
   -"ฉันจะเขียน(สิ่งนี้/เรื่องนี้)อย่างไร"
   -"ฉันจะเริ่มต้นเขียนอย่างไร" 

แนวทางที่นักเรียนถูกฝึกให้คิดในการที่จะเขียน ได้แก่ การคิดถึงจุดมุ่งหมายในการเขียน ผู้อ่านการร่างการเขียนหลายๆแบบ เพื่อนำเสนอผลงานการเขียนที่สามารถสื่อสารถึงความคิดของตน ครูผู้สอนที่ใช้แนวทางนี้จะให้เวลาแก่นักเรียนที่จะคิดและให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับ  เนื้อหาที่นักเรียนเขียนในร่างของ
เขา ด้วยวิธีนี้ทำให้กระบวนการเขียนเป็นกระบวนการของการค้นพบโดยตัวของนักเรียนเอง ค้นพบทั้งความคิดใหม่ๆ และรูปแบบของภาษาใหม่ๆที่แสดงออกถึงความคิดของตนเอง นอกจากนี้การเรียนรู้ที่จะเขียนในลักษณะนี้เป็นเสมือนกระบวนการของการพัฒนาการที่ช่วยให้นักเรียนเขียนได้เช่นเดียวกับที่นักเขียนมืออาชีพปฏิบัติ เพราะนักเรียนเป็นผู้เลือกชื่อเรื่อง อรรถลักษณ์ของภาษา(genre:เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์.2550 ใช้คำว่าอรรถลักษณ์ของภาษา ซึ่งเน้นความสำคัญของโครงสร้างการดำเนินเรื่องและลักษณะของภาษาที่แตกต่างกันไป เช่น เรื่องเล่าจากประสบการณ์ รายงาน )และเขียนจากประสบการณ์หรือจากการสังเกต

       แนวทางการสอนเขียนโดยใช้กระบวนการเขียนครูผู้สอนต้องให้นักเรียนเป็นผู้รับผิดชอบ(ส่วนใหญ่)และเป็นเจ้าของทางการเรียนรู้ ในขณะเขียนนักเรียนจะอาศัยความร่วมมือจากเพื่อนนักเรียน ระหว่างการเขียนนักเรียนต้องปฏิบัติกิจกรรมในขั้นpre-writing , planning ,drafting editing ,publishing  แต่เนื่องจากกระบวนการเขียนมีลักษณะการคิดกลับไปกลับมาได้ นักเรียนอาจไม่ต้องทำกิจกรรมตามขั้นตอนดังกล่าวตามลำดับ 
             
                ตัวอย่าง กิจกรรมการเขียน

กิจกรรมที่1  การบรรยายภาพ ให้นักเรียนดูภาพแล้วบอกชื่อสิ่งของในภาพ จากนั้นให้นักเรียนเขียนข้อความบรรยายภาพ เช่น ภาพห้องเรียน ครูถามให้นักเรียนบอกสิ่งที่เห็นในภาพ แล้วให้เขียน(ย่อหน้าข้อความโดยอาจเริ่มต้นให้นักเรียนเขียน เช่น "ในห้องเรียนมี..................." แล้วให้นักเรียนเขียนเติม
กิจกรรมที่ 2  เติมคำลงในช่องว่าง  ดังตัวอย่าง
      
       มาลีอาศัยอยู่ในห้องที่น่ารัก  ภายในห้องของเธอมี.........  ,  ......... , .......... และ................. อย่างละหนึ่งอัน  และมี.................หลายอัน แต่ไม่มี...................เธอต้องการได้..................สำหรับประดับฝาห้อง

กิจกรรมที่ 3 เติมคำบุพบทในช่องว่างให้เหมาะสมกับบริบทของเรื่อง
ดังตัวอย่าง

       ภาพนี้เป็นภาพห้องของมาลี เตียงนอนอยู่............กับหน้าต่าง มีชั้นวางหนังสืออยู่.........เตียงของเธอ บน.........มีวิทยุซึ่งอยู่.............โต๊ะทำงาน

กิจกรรมที่ 4 เขียนบรรยายจากคำถาม  ให้นักเรียนดูภาพแล้วใช้ชุดคำถามเป็นแนวทางให้นักเรียนเขียนบรรยายสั้นๆเกี่ยวกับภาพนั้น ตัวอย่างคำถาม
  - มาลีมีห้องที่น่ารักใช่หรือไม่
  - มีสิ่งของอะไรบ้างในห้องของมาลี
  - นักเรียนชอบอะไรในห้องของมาลี
  - เธอมีห้องเหมือนมาลีไหม  บรรยายห้องของเธอมา 2-3 ประโยค

กิจกรรมที่ 5 เขียนจากชุดคำ  โดยครูให้ชุดคำแก่นักเรียนที่จะเขียนตามการชี้แนะเพื่อการเขียนประโยค  แล้วให้นักเรียนเขียนเล่าเรื่องเป็นย่อหน้าสั้นๆ  เช่น
 - วินัย / ห้องครัว / กาแฟ / เตรียม / ลงบันได
 - ของเขา / ภรรยา / ดังนั้น / อาหารเช้า / ออกไปนอกบ้าน / ใน / สวน
กิจกรรมที่ 6 การรวมประโยค โดยใช้คำเชื่อม
ตัวอย่าง 
  - ผู้ชายคนนั้นรูปร่างสูง              - ผู้ชายคนนั้นมีผมดำ
  - ผู้ชายคนนั้นยืนอยู่ริมหน้าต่าง  -ผู้ชายคนนั้นดูน่าสงสัย

กิจกรรมที่ 7 การเขียนจากการสัมภาษณ์ปากเปล่า ให้นักเรียนสัมภาษณ์เพื่อนแล้วเขียนบอกสิ่งที่เขาเรียนรู้เกี่ยวกับเพื่อนคนนั้น โดยกำหนดหัวขอไว้ล่วงหน้า เช่น
  - พูดคุยกับเพื่อนเกี่ยวกับตัวของเพื่อนและครอบครัวมีความเป็นมาจากไหน ครอบครัวอยู่ที่ไหน งานอดิเรกคืออะไร ฯลฯ
  - พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ชอบและไม่ชอบเกี่ยวกับโรงเรียน
  - ให้พูดบรรยายเหตุการณ์ที่น่าจดจำ
  - ให้พูดบรรยายเป้าหมายและแผนการในอนาคต
  - ให้พูดบรรยายถึงเรื่องการปิดภาคเรียนที่ผ่านมา
        กิจกรรมที่นำเสนอทั้ง 7 กิจกรรมนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการในขั้นเตรียมการก่อนเขียน( pre-writing ) ที่ครูต้องให้เวลาแก่  นักเรียนในการคิดที่จะเขียนเพื่อสื่อสารด้วยตนเอง......ในครั้งต่อไปจะขยายตัวอย่างกิจกรรมที่ครูสามารถนำไปใช้ในแต่ละขั้นของกระบวนการเขียนค่ะ














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น