การอบรมครูภาษาไทย

ขอให้โรงเรียนในโครงการพัฒนาภาษาไทย ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม โดยคลิก ที่นี่ และสามารถตรวจสอบรายชื่อโดยคลิก ที่นี่ หลังการอบรมให้ผู้เข้าอบรมกรอกแบบประเมินผลออนไลน์ดดยคลิก ที่นี่

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กระบวนการเขียน : ตอนที่ 3




  "ในตอนนี้...เป็นการนำเสนอแนวคิดของหน่วยงานของต่างประเทศที่กล่าวถึงขั้นตอน 7 ขั้นในงานเขียนที่ครูควรมอบหมายให้นักเรียนดำเนินการในกระบวนการเขียน  เชิญติดตามค่ะ"

 Educational Public Service (2010:Online) เสนอขั้นตอนต่างๆ 7 ขั้น  ในงานเขียนที่นักเรียนได้รับมอบหมายจากครู  แต่ละขั้นมีการดำเนินการดังต่อไปนี้

     1.การพัฒนาเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่จะเขียน(Developing your topic)ในกรณีที่ครูไม่ได้กำหนดหัวข้อเรื่องให้  นักเรียนจะเลือกหัวข้อเรื่องจากเรื่องที่ตนสนใจ หรือ อยากรู้อยากเห็น เช่น จากการศึกษาค้นคว้าจากตำราหรืองานอดิเรกเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ  เมื่อกำหนดหัวเรื่องได้แล้วนักเรียนจะเขียนความคิดหลักเกี่ยวกับเรื่อง แล้วดำเนินการดังนี้
         1.1 จดความคิดหลักเป็นวลี หรือคำ หรือคำที่สำคัญ แล้วจัดทำเป็นแผนที่ความคิด(Concept map)
         1.2 บอกถึงสิ่งที่นักเรียนต้องการทำเกี่ยวกับความคิดนั้น เช่น ต้องการเขียนความเรียงเชิงโน้มน้าว หรือเขียนอธิบาย หรือตามที่ครูกำหนดงานไว้
         1.3 บอกถึงแหล่งค้นคว้าที่นักเรียนจะสืบค้นสารสนเทศ  อาจเริ่มจากสารานุกรม แล้วขยายวงกว้างไปสู่แหล่งอื่นๆ รวมทั้งบุคคลและองค์กรที่เป็นผู้รู้
         1.4 สรุปความเกี่ยวกับหัวเรื่อง แล้วนำไปปรึกษาหารือกับครู  เพื่อได้ข้อมูลย้อนกลับที่ทำให้เข้าใจกระจ่างมากยิ่งขึ้น หรือได้ความคิดใหม่ๆ

     2. การกำหนดผู้อ่าน(Identify your audience) กลุ่มผู้อ่านจะทำให้รูปแบบการเขียนและคำศัพท์ที่ใช้แตกต่างกันไป  เช่นการเขียนเรื่องกีฬาให้เพื่อนนักเรียนอ่านกับการเขียนให้ผู้ปกครองอ่านจะแตกต่างกัน 


3. การศึกษาค้นคว้า(Research) เป็นขั้นการรวบรวมสารสนเทศและจดบันทึก  ทั้งจากการสัมภาษณ์  การอ่าน การทดลอง การเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆ


4. การเรียบเรียงความคิดและการเตรียมการก่อนเขียน(Organize and prewrite) เป็นขั้นที่จะสรุปถึงคำสำคัญ  ความหมาย และโครงสร้างที่จะใช้กับสารสนเทศที่รวบรวมได้ก่อนที่จะเขียนร่างแรก  วิธีการนี้จะช่วยให้ผ่านอุปสรรคการเขียนได้ เพราะช่วยให้นักเรียนค้นพบความคิดสำคัญ แปลความหมายสิ่งที่รวบรวมมาเป็นภาษาของนักเรียนเอง  รวมทั้งการได้โครงสร้างของเรื่องอย่างมีเหตุผล
     5. การร่าง(Draft / Write) นักเรียนจะสามารถร่างข้อเขียนได้เมื่อมีสารสนเทศเพียงพอ มีความเข้าใจ มีการลำดับความคิดและมีโครงสร้างของเรื่องแล้ว
         การเขียนร่างอาจแบ่งเป็นย่อหน้าแรก ที่เป็นการแนะนำหัวข้อ ชักจูงความสนใจของผู้อ่านและเสนอจุดสำคัญของเรื่อง 2-3 จุด  ย่อหน้าต่อไปเป็นย่อหน้าสนับสนุน โดยนำจุดสำคัญมาเขียนเป็นย่อหน้าต่อเนื่องกันไป แต่ละย่อหน้ามีความคิดสำคัญ ระหว่างย่อหน้าควรมีการเชื่อมต่อให้เห็นความต่อเนื่อง และสุดท้ายเป็นย่อหน้าลงสรุป ซึ่งเป็นการสรุปความจากใจความสำคัญทั้งหมด และลงสรุปอย่างมีเหตุผล


     6. การปรับปรุง(Revise) เป็นขั้นการปรับปรุงและการแก้ไข  โดยใช้กลวิธีต่อไปนี้ในการพิจารณา คือ การอ่านออกเสียงให้ตัวเองฟัง อ่านช้าๆแล้วดูว่าเรื่องราวเป็นอย่างไร โดยปิดข้อความทีละบรรทัดขณะที่อ่าน  เพื่อดูว่าเนื้อหาดำเนินการอย่างต่อเนื่องและราบรื่นหรือไม่ นักเรียนเขียนยาวเกินไปหรือสั้นเกินไป โดยคำนึงถึงผู้อ่านที่ยังไม่รู้ในสิ่งที่นักเรียนเขียน
         การปรับปรุงต้องยึดเค้าโครงเรื่องที่วางแผนไว้  และดูจากการจัดลำดับของย่อหน้าว่ามีเหตุผลหรือไม่  มีส่วนใดควรตัดออก หรือควรรวมเข้ากับส่วนอื่น  การปรับปรุงเน้นที่เนื้อหา  การสื่อสารและลีลาการเขียน 


6. การพิสูจน์อักษร(Proofread) เป็นการตรวจสอบในเรื่องโครงสร้างทางภาษา  การสะกดผิด โดยวิธีการตรวจร่วมกับผู้อื่น อ่านดังๆเพื่อให้ได้ยินและได้เห็น  หรือรู้สึกสงสัยตลอดเวลาในการตรวจ



มีคำถามจากครูว่า"จะสอนให้นักเรียนสามารถระดมสมองและเขียนอย่างอิสระได้อย่างไร"มีคำตอบค่ะ

  
การระดมสมองมีแนวทางดังนี้
      1. ใช้กระดาษเปล่า กำหนดเวลา 5-15 นาที
      2. สรุปหัวข้อเรื่องเป็นวลี / ประโยค
      3. เขียนทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในใจ  โดยคิดถึงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่อง  ทำอย่างสนุกสนาน หรือโดยตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง แม้จะเป็นคำถามแปลกๆก็ตาม
      4. ทบทวนดูว่ามีคำ/ความคิด ที่จะนำมาใช้กับหัวข้อเรื่องอีกหรือไม่ และมีใจความสำคัญในลำดับความคิดหรือไม่

การเขียนอย่างอิสระจากจุดสนใจมีแนวทางดังนี้
      1. ใช้กระดาษเปล่า  กำหนดเวลา 5-15 นาที
      2.  สรุปหัวข้อเรื่องเป็นวลี/ประโยค ขณะเขียนปล่อยให้ความคิดลื่นไหลไป
      3. เขียนอะไรก็ได้ที่เกิดขึ้นในใจ
      4. อย่าหยุด  อย่าลังเล  ทำอย่างรวดเร็ว
      5. ไม่มีการปรับปรุงสิ่งที่เขียน
      6. เมื่อหมดเวลาแล้วให้ย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้น  ปรับวลีเกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง  เขียนคำ/วลี/ความคิดสำคัญ/ความรู้สึกที่มีความหมาย
      7. ปรับปรุง โดยดูคำและความคิดที่จะใช้กับหัวข้อเรื่อง ที่เป็นความคิดสำคัญของกลุ่มความคิด
"เหนื่อยนักหยุดพักสมอง...ผ่อนคลายให้มีพลัง  เพื่อทำงานสอนต่ออย่างสนุก  สุขใจและภูมิใจในความเป็นครูนะคะ"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น