การอบรมครูภาษาไทย

ขอให้โรงเรียนในโครงการพัฒนาภาษาไทย ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม โดยคลิก ที่นี่ และสามารถตรวจสอบรายชื่อโดยคลิก ที่นี่ หลังการอบรมให้ผู้เข้าอบรมกรอกแบบประเมินผลออนไลน์ดดยคลิก ที่นี่

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แนวทางการจัดการเรียนการสอนเขียน : ตอนที่ 3



เพื่อนครูขอให้ยกตัวอย่างกิจกรรมที่ใช้สอนในขั้นเตรียมการก่อนเขียนเพิ่มเติม เพื่อเป็นแนวทางนำไปใช้กับนักเรียนระดับประถมศึกษา"งานสอนเหมือนพ่อครัวนะครับต้องเตรียมเครื่องปรุงให้พร้อม อาหารจะได้อร่อยครับ"

       ตัวอย่างกิจกรรม...... ในขั้นเตรียมการก่อนเขียน

กิจกรรมที่ 1 "คำชวนคิด พินิจสัมพันธ์"
        
        1. ครูจัดหาหนังสือ/วารสารจำนวน 3-4 ชุด โดยครูมีหนังสือเหล่านั้นอยู่ในมือ1ชุด เพื่อแสดงเป็นตัวแบบของกระบวนการร่วมกับนักเรียน 
         2. ให้นักเรียนเปิดหนังสือหน้าใดก็ได้(สุ่ม) แล้วจดบันทึกคำแรกที่พบเป็นคำที่ 1 แล้วปิดหนังสือ ทำแบบเดิมจนได้คำ 4 คำ  
         3. หลังจากได้คำครบแล้ว  ครูและนักเรียนจดรายการความคิดของตนเกี่ยวกับคำๆนั้น  รวมทั้งคิดถึงความสัมพันธ์ที่คำๆนั้นเกี่ยวเนื่องกัน  เมื่อทำครบ 4 คำ ครูและนักเรียนร่วมกันหาความสัมพันธ์ของคำทั้ง 4 คำ แล้ะจัดกลุ่มความคิด
         4. ครูและนักเรียนร่วมกันเขียนวลี  ประโยค  และความคิดที่แสดงความสัมพันธ์
        กิจกรรมนี้เป็นการอุนเครื่องให้นักเรียนได้มีโอกาสพิจารณาความคิดครั้งแรกๆเพื่อนำไปสู่การเขียนต่อไป
 


 กิจกรรมที่ 2 "เขาคือใคร..."
       
   1. ครูหรือนักเรียนหาภาพถ่ายหรือภาพบุคคลจากหนังสือต่างๆ(ภาพควรเป็นภาพบุคคลที่มีรายละเอียดที่บ่งบอกถึง รูปร่าง หน้าตา ขนาด สีหน้า การแต่งกาย และรายละเอียดอื่นๆเกี่ยวกับบุคลิกภาพ/ลักษณะของตัวละคร)
   2. ให้นักเรียนตั้งคำถามและตอบคำถามถึงความคิดและปฏิกริยาต่อภาพ โดยใช้เวลาสั้นๆในแต่ละคำถาม นักเรียนพิจารณาภาพอย่างละเอียด และอาจใช้จินตนาการประกอบการคิด ดังตัวอย่างคำถาม
- ใครเป็นตัวเอกในภาพ
- เขาควรมีชื่อที่เหมาะสมว่าอะไร
- เขาอายุเท่าไร
- เขาแสดงอารมณ์อย่างไร( อธิบายเพิ่มเติม เช่น การแสดงสีหน้า ลักษณะท่าทาง ฯลฯ )
- เขาควรทำงาน/อาชีพ ชนิดไหน ( ให้เหตุผลประกอบ )
- เขากำลังคิด/พูดอะไร    อะไรทำให้นักเรียนคิดเช่นนั้น
- คุณลักษณะอื่นๆของตัวละครที่แสดงออกจากเครื่องแต่งกายและท่าทางมีอะไรบ้าง
- เหตุการณ์อะไรที่น่าจะเกิดขึ้นก่อนภาพนี้อะไรจะเกิดต่อไปจากภาพนี้
- ตัวละครอื่นๆน่าจะมีความสัมพันธ์กับตัวละครเอกอย่างไร  อะไรทำให้นักเรียนคิดเช่นนั้น
- ตัวเอกมีทัศนคติต่อตัวละครอื่นอย่างไร และตัวละครอื่นมีทัศนคติต่อตัวเอกอย่างไร เหตุผลที่น่าจะเป็นไปได้สำหรับทัศนคติเหล่านั้น
     3. ให้นักเรียนเขียนบันทึกความคิดสั้นๆโดยเขียนเป็นคำหรือวลีและประโยคสั้นๆ 
        กิจกรรมนี้ทำให้นักเรียนมีโอกาสพัฒนาความคิดและนำไปใช้ในการหาหัวข้อเรื่องที่จะเขียนต่อไป 


กิจกรรมที่ 3 "เขียนๆๆๆๆลุยไม่รู้โรย"
    
       กิจกรรมนี้เป็นการเตรียมนักเรียนให้เขียนอย่างอิสระ  
        1. ครูอธิบายให้นักเรียนทราบว่ากิจกรรมต่อไปนี้จะให้เขียนความคิดอะไรก็ได้ที่เกิดขึ้นในทันทีที่ครูพูดว่า "เริ่ม" จนถึงพูดว่า "หยุด"
        2. ในขณะที่นักเรียนเขียนไม่มีการหยุด  ไม่มีการลบ  ไม่มีการแก้ไข  ให้เขียนอย่างต่อเนื่องต่อความคิดที่เกิดในขณะนั้น
        3. ครูให้นักเรียนจับคู่อ่านและแลกเปลี่ยนข้อเขียน
        4. นักเรียนจับกลุ่มตามความสมัครใจ อ่านข้อเขียนอิสระของตนให้กลุ่มฟัง  แล้วสมาชิกกลุ่มให้ข้อคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์และเชิงบวก
         กิจกรรมนี้จะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีความกล้าที่จะเขียนโดยปราศจากกฏเกณฑ์ เพื่อให้มีความเชื่อมั่นว่าทุกคนคิดและเขียนได้อย่างอิสระ จะส่งผลต่อการเริ่มคิดที่จะเขียนในขั้นต่อๆไป
เพื่อน : กัลยาณมิตร ช่วยกันคิด ช่วยกันพัฒนาเด็กไทยให้กล้าคิด กล้าเขียน และเป็นคนดีของสังคมไทย - สังคมโลก



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น